วิธีดูแลที่ดินเปล่า ไม่ป ล่ อ ย ให้รกร้าง จนอาจตกเป็นของคนอื่นครอบค ร อ ง ปรปักษ์ได้

ที่ดิน ถือเป็นสมบัติอันมีค่า ที่ใครๆก็อยากจะมีไว้เป็นของตัวเอง บางคนมีที่ดินหลายแห่ง บางแห่งไม่ได้ใช้ประโยชน์อะไร ก็มักจะปล่อยทิ้งรกร้างไว้ ไม่ได้เข้าไปจัดการดูแล นานวันเข้าเจ้าของที่ดินไม่ได้สนใจ จนกระทั่งมีผู้อื่นเข้ามาสร้างที่พักพิง อยู่อาศัยถาวร ทำให้เขานั้นครอบครองที่ดินนั้นไปโดยปริยาย

ถ้าหากพูดถึง ที่ดินเปล่า หรือว่า ที่ดินมือเปล่าคือที่ดินซึ่งไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น ไม่มีโฉนด เป็นต้น และถึงแม้ว่าเจ้าของที่ดินจะมีโฉนด เป็นผู้ครอบครองที่ถูกต้องตามกฏหมายก็ตาม แต่หากมีคนมาใช้ที่ดินของเรา โดยไม่เข้าไปจัดการดูแล ก็จะกลายเป็นการครอบครองปรปักษ์ที่ดิน

การครอบครองปรปักษ์ หมายถึง บุคคลใดครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นไว้โดยสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของถ้าเป็นอสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถ้าเป็นสังหาริมทรัพย์ได้ครอบครองติดต่อกันเป็นเวลาห้าปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิ์

“ที่ดินเปล่า” ปล่อยไว้ไม่ดูแล อาจตกเป็นของ ค น อื่ น ด้วยการครอบครองปรปักษ์ได้ ดังนั้นจึงต้องคอยไปดูแล เราขอแนะนำวิธีดูแลที่ดินด้วยวิธีง่ายๆ 9 วิธี ดังนี้

9 วิธีที่จะป้องกันไม่ให้ที่ดินของตน ตกเป็นของผู้อื่น

1 หมั่นไปดูที่ดินเป็นประจำ อย่างน้อยสุดปีละ 2 ครั้ง เพราะที่ดินบางประเภท ถูกแย่งการครอบครอง 1 ปี ก็ฟ้องไม่ได้แล้ว

2 ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีคนแอบเข้ามาใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนเอง อาจจะมีการ ส อ บ ถ า ม เพื่อนบ้านละแวกใกล้เคียงหรือหมั่นสังเกตความเปลี่ยนแปลงในที่ดินของตนเองได้

3 หากมีคนได้เข้ามาอาศัยอยู่ในที่ดิน ให้ทำการพูดคุยตกลงกันให้เรียบร้อยว่าจะทำการเช่าหรือทำการซื้อ เพื่อที่จะไม่ให้เกิดปัญหาต ามมาได้ในภายหลัง และมีการทำ สั ญ ญ า เป็นลายลักษณ์อักษรให้เรียบร้อย ถ้าหากตกลงกันไม่ได้ควรที่จะให้ออกจากที่ดินบริเวณของเราได้ในทันที

4 ที่ดินเราควรล้อมรั้วไว้เพื่อกำหนดเขตแดนที่แน่นอน

5 แสดงป้ายให้ได้เห็นว่า ที่ดินผืนนี้เป็นที่ดินส่วนบุคคล เพื่อที่จะป้อง กันไม่ให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจผิ ดว่าเป็นที่ดินของสาธารณะ

6 ให้เราดูว่าหลักหมุดที่ได้ปักอยู่นั้นอยู่ที่เดิมหรือไม่มีการ ชำรุดเสียหายหรือหายไปหรือไม่ หรือมีการ เ ค ลื่ อ น ย้ า ย หรือไม่ เพราะหลักหมุดนั้นได้มีความสำคัญต่อที่ดิน เพื่อเป็นการยืนยันทางกรมที่ดินด้วย

7 ถ้าหลักหมุดหาย ควรไปแจ้ง ตร ขอดำเนินคดี เพราะการทำลายหลักหมุดเป็นความผิดอาญา หลังจากนั้น แจ้ง ที่ ดิ น เพื่อดำเนินการรังวัดใหม่

8 ควรรังวัดที่ดินอย่างน้อยทุก 5 ปี หรือเมื่อพบความผิดปกติของเนื้อที่ที่เรามี เพราะที่ดินอาจมีการเพิ่มหรือลดได้ โดยเฉพาะที่ดินริมตลิ่งหรือริมน้ำ

9 สังเกตว่ามีร่องรอยทางเดินผ่านหรือทางรถวิ่งผ่านประจำหรือไม่ เพราะอาจจะโดนใช้เป็นทางผ่านประจำก็ได้ เพราะถ้าหากว่าไม่มีการกั้นอาณาเขตเอาไว้ ผู้คนอาจจะเข้าใจว่าเป็นทางผ่านที่สามารถใช้ผ่านได้เป็นประจำ

สิ่งสำคัญอย่าลืมไปว่า ที่ดินเ ป ล่ า ที่มีนั้นหากถูกปล่อยปละละเลย อาจจะตกไปเป็นของผู้อื่นได้ หากไม่ใส่ใจในการดูแล จะเป็นหนึ่งในช่องโหว่ของกฎหมาย ที่หากคุณเป็นคนที่มีที่ดิน มี ท รั พ ย์ สิ น ก็ควรที่จะต้องใส่ใจและรู้สิ่งเหล่านี้เอาไว้