ว่านงาช้าง ต้นไม้มงคล ไม้สวย ต่างชาตินิยมเลี้ยง

“ยินดีต้อนรับเพื่อนๆ เข้าสู่เว็ปไซต์ ที่รวบรวมเรื่องเก่า ข่าวบันเทิง ประวัติคนดัง เรื่องเล่าในอดีต และความรู้มากมายเอาไว้ที่นี่”

เมื่อพูดถึงพืชสมุนไพร หลายคนคงคุ้นตากับสมุนไพรหลากชนิดที่สามารถพบเห็นได้ตามท้องตลาดทั่วไป โดยเฉพาะที่นิยมนำมาสกัดหรือแปรรูปเป็นยา แต่มีอีก 1 ชนิดคือ “ว่านงาช้าง”

ซึ่งเป็นได้ทั้งสมุนไพรมีสรรพคุณทางยา เป็นไม้ประดับส่งออก รวมถึงการนำเส้นใยมาทอเป็นผืนผ้าคล้ายกับผ้าไหม ซึ่งเป็นความแปลกใหม่ในการต่อยอดจากพืชสมุนไพรให้กลายมาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มได้

“พยงค์ คงอุดมทรัพย์” เจ้าของสวนแอ๊ดวานซ์ การ์เด้นดีไซน์ จากจังหวัดนครปฐม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สวนแอ๊ดวานซ์ การ์เด้นดีไซน์ ปลูกว่านงาช้างมากกว่า 500 ไร่ เพื่อส่งออกขายไปยังต่างประเทศ ซึ่งได้รับความนิยมจากลูกค้าเป็นอย่างมาก

นอกจากนี้การพบไส้เดือนฝอยในว่านงาช้าง ก็ยิ่งทำให้สินค้าไม่ผ่านเกณฑ์ของกรมวิชาการต่างประเทศ จึงหันมาทำการตลาดในประเทศแทน

แต่ขายได้ไม่ถึง 10% ของต้นไม้ที่ผลิตออกมา เนื่องจากราคาแพงเกินไป ลูกค้าส่วนใหญ่ที่เป็นวัยรุ่นเขาซื้อไม่ไหว จึงได้ปรับขนาดของไซซ์ลงมาราคาอยู่ที่ประมาณ 30-50 บาท”

“พยงค์” เล่าว่า ตอนนี้กำลังหาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ และกำลังต่อยอดธุรกิจ โดยพบว่าว่านงาช้างนั้นมีเส้นใยลำต้นที่เหนียว สามารถนำไปทำเป็นด้ายหรือเชือกได้

จึงนำมาพัฒนาจนกลายเป็นเส้นด้ายที่คล้ายกับผ้าไหม นอกจากจะสามารถถักทอเป็นผ้าเนื้อดีมีความสวยงามแล้ว ยังคงสีธรรมชาติที่มีความแปลกใหม่

ทั้งนี้ ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรที่ไม่มีอาชีพ หรือเกษตรกรที่มีรายได้น้อย ให้ออกแบบและดีไซน์เป็นรูปแบบต่าง ๆ เพื่อวางขายในเว็บไซต์และตลาดทั่วไปด้วยในอนาคตวางแผนไว้ว่าจะสอนชาวสวนที่ปลูกว่านงาช้าง

ในประเทศถึงวิธีในการนำเส้นใยออกมาจากว่านงาช้าง กรรมวิธีการปลูก สายพันธุ์ที่ใช้ปลูก รวมถึงตลาดว่าสามารถขายได้ที่ไหนบ้างจะเป็นแนวทางสร้างอาชีพให้เกษตรกรมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ได้มีการพัฒนาเส้นใยชุดปัจจุบัน ซึ่งจะมีเนื้อที่เนียนกว่าและไม่มีขน เป็นเส้นใยที่เกิดจากธรรมชาติ คนทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ ตอนนี้ได้ส่งตัวอย่างไปประเทศอินเดีย

เพื่อทำกระดาษจากเส้นใยงาช้างและโรงงานกำลังจะเอาไปวิจัยต่อ เพื่อทำเป็นแผ่นเก็บเสียงที่ติดในห้อง รวมถึงออกแบบเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ อาทิ ถ้วย จาน สำหรับใช้แล้วทิ้ง

ข้อมูลมีการสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต และบางบทความอ้างอิงหนังสือ หรือมีการเล่าต่อกันมาเป็นทอดๆ หากผิดพลาดประการใด ทีมงาน ปัญญาชีวิตดอทคอม ต้องกราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย

ขอบคุณที่มา:prachachat