วิธี ป ลู ก ผักชีในตะแกรงพัดลม ไว้กินเองที่บ้าน

หลายบ้านพอจะมีพื้นที่สำหรับทำสวน ก็อาจจะมีแปลงผักสวนครัวเล็กๆ ปลูกผักไว้รับประทานเอง ในครอบครัว แต่ถ้าบ้านไหนมีพื้นที่จำกัด อยากจะให้มีผักชีต้นเล็กๆไว้ปรุงอาหารหรือรับประทานเป็นเครื่องเคียง วันนี้เราจะเสนอวิธีปลูกผักชีในตะแกรงพัดลมเก่าที่ไม่ได้ใช้แล้ว นอกจากประหยัดพื้นที่ แล้วยัง สะอาด สะดวก ปลอดภัย ไม่ยากอย่างที่คิดด้วย

สิ่งที่ต้องเตรียม

– เมล็ดผักชี พั น ธุ์ ดี

– ตะแกรงพัดลมเก่า

– ดินสำหรับป ลูก

– ขุยมะพร้าว

– ปุ๋ ยคอก

– กาบมะพร้าวหั่ นเต๋า

ขั้นตอนการปลูก

– เมื่อได้เมล็ดพันธุ์ผักชีมาแล้ว ให้ทำการบดเมล็ดผักชีให้แตกออกเป็น2ส่วนก่อน(สำคัญมาก) แล้วจึงนำไปแช่น้ำ 1 คืน (แนะนำ การแช่น้ำควรนำผ้ามาห่อไว้ แล้วหาอะไรกดทับให้มิดจมน้ำไปเลย) การบดเมล็ดผักชีจะทำให้ผักชีเจริญเติบโตง่ายและเร็วขึ้น ที่สำคัญเมล็ดพันธุ์ผักชีที่จะนำมาปลูกควรเป็นเมล็ดพันธุ์ผักชีที่ใหม่เพราะเมล็ดพันธุ์ผักชีเก่าที่เป็นราปลูกยังไงก็ไม่ขึ้น

– จากนั้นนำตะแกรงพัดลมส่วนล่างมาปูด้วยกาบมะพร้าวหั่นเต๋า แล้วผสมมดินปลูก ขุยมะพร้าว ปุ๋ยคอก ในอัตราส่วน 3:1:1 ให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว

– แล้วนำเมล็ดผักชีที่แช่น้ำแล้วมาโรยให้ทั่วตะแกรง ระมัดระวังอย่าให้เมล็ดผักชีซ้อนทับกันและแน่นเกินไป

– นำตะแกรงด้านบน มาประกอบเข้าด้วยกัน แล้วนำไปแขวนหรือตั้งไว้บนเสาก็ได้เพื่อระบายน้ำได้ดี เพราะผักชีไม่ชอบน้ำที่ขัง จะทำให้ผักชีเน่าง่าย และช่วยประหยัดพื้นที่

– การรดน้ำและการกำจัดวัชพืช ผักชีเป็นผักที่ต้องการน้ำมาก ดังนั้นควรรดน้ำอย่างสม่ำเสมอวันละ2ครั้ง

– ส่วนการกำจัดวัชพืชควรกำจัดอย่างทันที โดยใช้มือถอนได้เลย เพราะวัชพืชจะเป็นตัวแย่งน้ำจากผักชีทำให้ผักไปไม่เจริบเติบโต

– เมื่อปลูกผักชีได้ 7 วันก็จะสังเกตได้ว่าเริ่มมีต้นอ่อนของผักชีขึ้นมาให้เห็น ในช่วงนี้ถ้ามีต้นไหนไม่แข็งแรงให้ถอนออกได้เลย

– เมื่อปลูกครบ 45 วัน ผักชีก็จะโตเต็มตะแกรงพัดลมแล้วค่ะ โดยในช่วงปลูกสามารถบำรุงพืชผักด้วยฮอร์โมนต่างๆเพื่อ กระตุ้นการเติบโตของผักชีได้

ประโยชน์ในการปลูกผักชีในตะแกรงพัดลม

1 ระบายน้ำได้ดีเ หมาะกับการปลูกช่วงน้ำท่วม

2 ประหยัดค่าภาชนะปลูกเนื่องจากใช้ของเ ก่าเหลือใช้

3 รากและ ต้ น ผั ก ชี ไม่เน่าง่าย

เป็นการใช้ของเหลือใช้มาทำประโยชน์ทางการเกษตรที่เหมาะกับการ ป ลู ก ผักชีอย่างยิ่งที่สำคัญใช้ พื้ น ที่ น้อยและประหยัดค่าภาชนะอีกด้วย

เรียบเรียงโดย ปัญญาชีวิต

ที่มา ยูทูปช่องสวนผักหลังบ้าน, Postnoname